ฉลากสิ่งแวดล้อม ดึงดูดผู้บริโภครักโลก

‘ฉลากสิ่งแวดล้อม’ ดึงดูดผู้บริโภครักโลก
กรุงเทพธุรกิจ. ฉบับวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2558, หน้า 1,5
“โครงการฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5”
ประวัติความเป็นมา
ประเทศเยอรมนีได้เริ่มนำฉลากสิ่งแวดล้อม
มาใช้อย่างจริงจังเป็นประเทศแรก
มีสัญลักษณ์เป็น นางฟ้าสีน้ำเงิน (Blue Angel)
สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยและคณะกรรมการนักธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อมไทย
ได้จัดทำ “ฉลากเขียว” (Green Label) ขึ้นเมื่อ พ.ศ.2536

ลักษณะของฉลากคาร์บอนที่ติดลงสินค้า
– ฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint)
หรือ ฉลากที่ระบุปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจาก
ผลิตภัณฑ์แต่ละหน่วยตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์
– ฉลากลดคาร์บอน (Carbon reduction label)
หรือ ฉลากที่แสดงระดับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ออกสู่บรรยากาศต่อหน่วยผลิตภัณฑ์
– ฉลากคูลโมด (Cool Mode) หรือฉลากที่ติดใน
ผลิตภัณฑ์ผ้าผืนหรือเสื้อผ้า เพื่อบอกถึงคุณสมบัติผ้าชนิดนั้นๆ เพื่อลดการใช้พลังงาน การทำความสะอาด และการใช้น้ำ

โปรแกรมที่ได้พัฒนา
– ซอฟแวร์สำเร็จรูปอย่างง่ายเพื่อวิเคราะห์ LCA
โดยใช้ชื่อโปรแกรมว่า “SEPE” (Simple Environment Program for Enterprise) เป็นโปรแกรมช่วยนักออกแบบ
ในการประเมินผลิตภัณฑ์เบื้องต้น ในลักษณะ web service
– ซอฟแวร์อย่างง่ายในการวิเคราะห์คาร์บอนฟุตพริ้นท์
ของบรรจุภัณฑ์ประเภทกล่องกระดาษลูกฟูก พลาสติก แก้ว และอะลูมิเนียม โดยมีชื่อเรียกซอฟแวร์นี้ว่า “CFPack” (Carbon footprint + Packaging) เป็นซอฟแวร์สำหรับวิเคราะห์
ปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของบรรจุภัณฑ์โดยเฉพาะ
“ซอฟต์แวร์ดังกล่าวจะเป็นเครื่องมือช่วยนักออกแบบได้ตรวจสอบและคัดเลือกวัสดุและ
กระบวนการผลิตที่เหมาะสม และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้เพื่อรองรับตลาดใหม่ซึ่งเป็นตลาดของสินค้าสีเขียว (Green product) หรือสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Eco Product)”

ประโยชน์ของฉลากและซอฟต์แวร์
– นำไปใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการสนับสนุนการออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์
ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
– เป็นข้อมูลช่วยให้ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกสนับสนุนสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
– ช่วยสร้างภาพลักษณ์สินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจากการติดฉลากคาร์บอนลงบนผลิตภัณฑ์
– ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
– ลดปริมาณการระบายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
– นำร่องใช้กับกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการของภาครัฐที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
– เป็นแรงจูงใจสำคัญต่อการปรับเปลี่ยนกิจกรรมการผลิต และการบริโภค ให้เป็นไปในแนวทาง
ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้มากขึ้น
– ใช้เป็นกลไกทางการตลาด
ทำให้หลายประเทศ มีการออกฉลากสิ่งแวดล้อม
เป็นของตนเองและนำมาใช้กันอย่าง แพร่หลายมากขึ้น

ขอขอบคุณข้อมูลจาก nstda.or.th